ถาวรวัตถุเสนาสนะภายในวัด ของ วัดบึงทองหลาง (กรุงเทพมหานคร)

1.อุโบสถหลังเก่าเริ่มจัดสร้างเมื่อ พ.ศ. 2462-2466 ในสมัยหลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต

2.อุโบสถทรงไทยประยุกต์ รูปเรือสำเภา เริ่มจัดสร้างเมื่อ พ.ศ. 2522

หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต อดีตเจ้าอาวาส วัดบึงทองหลาง ระหว่าง ๒๔๔๕ ถึง ๒๕๐๑มณฑปอนุสรณ์หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต อดีตเจ้าอาวาสวัดบึงทองหลาง เริ่มจัดสร้างเมื่อ ๒๕๓๗ ในช่วงพระครูพิศาลวิริยคุณ (สิงห์โต ติสฺโส) เป็นเจ้าอาวาส โดยมีประธานจัดสร้างคือพระราชสิทธิวิมล (ถนอม ธมฺมฐิติ) สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์พระอุปัชฌาย์

3.หอระฆัง

4.เมรู

5.ศาลาคู่เมรู===หลวงพ่อพรศรีสุเวสสุวรรณ พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์สมัยสุโขทัย[2]=== พระพรศรีสุเวสสุวรรณ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ มีหลักฐานที่พอจะสันนิษฐานได้ว่า จัดสร้างขึ้นประมาณสมัยรัชกาลที่ 1 โดยวัตถุที่จัดสร้างเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ ลักษณะพระพุทธรูปเป็นปางมารวิชัย เกศอุณาโลมเปลวเพลิง หน้าตัก 3 ศอก เป็นพระประธานอุโบสถวัดบึงทองหลางมาเป็นเวลาเกือบ 100 ปี คือตั้งแต่ พ.ศ. 2466 จนกระทั่งมีการจัดสร้างอุโบสถหลังใหม่ และตัดลูกนิมิตเมื่อ พ.ศ. 2545 และปรับอุโบสถหลังเก่า ให้เป็นวิหาร ที่ประดิษฐานหลวงพ่อพรศรีสุเวสสุวรรณแทน ดังปรากฏในปัจจุบัน

ประวัติความเป็นมาพระพุทธรูปองค์นี้ เคยประดิษฐานอยู่ ณ วัดเทวราชกุญชร ติดแม่น้ำเจ้าพระยา หลวงปู่เมื่อคราวสร้างอุโบสถ ยังหาพระหาพระประธานไม่ได้ จึงไปพบเจ้าคุณอาจารย์ทิม ซึ่งเป็นคนย่านวัดบึงทองหลางเช่นกัน พร้อมทั้งเป็นคู่สวดหลวงปู่พัก ที่สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ส่งไปครองวัดเทวราชกุญชร ด้วยความสนิทสนมในฐานะศิษย์อาจารย์ และคนทุ่งวังทองหลาง บ้านเกิดท่านเจ้าคุณ หลวงปู่จึงไปพบและขอพระพุทธรูป เพื่อมาประดิษฐานเป็นพระประธานอุโบสถวัดบึงทองหลาง ซึ่งเจ้าคุณทิม ท่านก็ได้เลือกเอาจากที่วัด ซึ่งมีอยู่จำนวนมาก จึงจุดธูป เพื่ออันเชิญ แต่ธูปไม่ติด จนกระทั่งไปพบพระพุทธรูปองค์พระ “หลวงพ่อพรศรีสุเวสสุวรรณ” ที่ถูกอยู่ศาลารายล้อมอุโบสถ และติดกับน้ำ ถูกน้ำเซาะจนฐานเอน หลวงปู่จึงรู้สึกเหมือนมีอะไรมาดลใจ จุดธูปเทียน เพื่อบูชาอัญเชิญ ธูปเทียนกลับลุกสว่างโชติช่วง หลวงปู่พัก ธัมมทัตโต จึงเลือกพระพุทธรูปองค์ ที่ให้ชื่อเรียกในภายหลังจากสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ในภายหลังว่า "พระพรศรีสุเวสสุวรรณ"

พร้อมทั้งขอหลวงพ่อพรศรีสุเวสสุวรรณ จากเจ้าคุณทิม (ในนหนังสือประวัติวัดเทวราชกุญชร มีบันทึกเรียกว่าเพียงว่ามหาทิม) [3] เจ้าคุณจึงถามหลวงปู่กลับว่าองค์สวย ๆ มีเยอะแยะทำไม่เลือกเอาไป หลวงปู่ตอบว่า “สงสาร” หลวงปู่พัก จึงนำพระพุทธรูปดังกล่าว กลับมายังวัดบึงทองหลาง โดยการนำใส่เรือเมล์ (เรือขาวนายเลิศ) ที่วิ่งระหว่างพระนคร-ประตูน้ำ จากประตูน้ำ บางกะปิ อีกทอดหนึ่งเพื่อนำมาประดิษฐานที่วัดบึงทองหลาง พระพรศรีสุเวสสุวรรณจึงได้มาเป็นพระธานประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดบึงทองหลาง เมื่อหลวงปู่ได้เริ่มสร้างอุโบสถในปี พ.ศ. 2462 และแล้วเสร็จตัดลูกนิมิต เมื่อ พ.ศ. 2466

ที่ดินธรณีสงฆ์วัดบึงทองหลาง

หลวงปู่พัก ธมฺมทตฺโต นับได้ว่าเป็นพระเถระที่มาบุกเบิกวัดบึงทองหลาง อย่างแท้จริง ด้วยในช่วงสมัยที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้จัดหาที่ดินอันเป็นที่ธรณีสงฆ์ ไว้เป็นสมบัติของวัดบึงทองหลางจำนวนมาก ร่วมประมาณ 300 ไร่ ในปัจจุบัน และได้มีการจัดมอบให้เป็นที่อยู่อาศัย แก่ประชาชนในนามวัดบึงทองหลาง ทำหน้าที่สงเคราะห์ประชาชน ให้เป็นสถานศึกษาโรงเรียนจำนวน 3 โรงเรียนอันประกอบด้วย โรงเรียนวัดบึงทองหลาง (ประถมศึกษา) โรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง (ระดับมัธยมศึกษา 1-6) และวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ ฯ (ระดับอาชีวะ ปวช. / ปวส.) และจัดมอบให้เป็นที่ทำธสาธารณะประโยชน์ เช่น จัดทำถนนเส้นเชื่อมระหว่างวัดบึงทองหลาง กับถนนลาดพร้าว หรือถนนเส้นหน้าวัดบึงทองหลาง ซอย 101 ในปัจจุบัน เป็นต้น โดยที่ดินที่ปรากฏหลักฐานเป็นสินทรัพย์ของวัดบึงทองหลางในปัจจุบัน ประกอบด้วย

1.ที่ดินแปลงตั้งวัดเรียกว่าที่ตั้งวัดในปัจจุบัน ประมาณ 60 ไร่ อันเป็นสถานที่จัดสร้างศาสนวัตถุที่พัฒนามาพร้อมกับเวลา เช่น อุโบสถ 1 หลัง วิหาร 2 หลัง ศาลาอเนกประสงค์ ศาลาสวดศพกว่าประมาณ 16 หลัง กุฏิที่พำนักสงฆ์กว่า 30 หลัง ที่จอดรถ เมรุเผาศพ 4 เตาเผา เป็นต้น

2.ที่ดินแปลงตั้งโรงเรียนมัธยมวัดบึงทองหลาง ประมาณ 30 ไร่

3.ที่ดินแปลงตั้งโรงเรียนวัดบึงทองหลาง ประมาณ 30 ไร่

4.ที่ดินแปลงตั้งวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมกรุงเทพ ประมาณ 30 ไร่

5.ที่ธรณีสงฆ์แปลงถนนลาดพร้าว 101 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ชุมชน 101 บึงทองหลาง (หน้าวัด) ที่ตั้ง..ถนนลาดพร้าว ซอย 101 เขตบางกะปิ มีพื้นที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 27 ไร่ ทางวัดได้จัดสรรให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยประมาณ พ.ศ. 2518 ? และได้รับการจดทะเบียนเป็นชุมชนโดยสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร เมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2535 (1992) ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 210+ ครอบครัว 798+ คน

6.ที่ธรณีสงฆ์แปลง ลาดพร้าว 87 ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของ ชุมชนจันทราสุข ตั้งอยู่ถนนลาดพร้าว ซอย ๘๗ เขตวังทองหลาง มีพื้นที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 24.07 ไร่ เข้าอยู่อาศัยประมาณ พ.ศ. 2518 และได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นชุมชน โดยสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร เมื่อ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2535 ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 218+ ครอบครัว 766+ คน

7. ที่ธรณีสงฆ์แปลงรามอินทรา ซอยวัชรพล (ท่าแร้ง) มีเนื้อที่ จำนวน 25 ไร่ จัดสรรค์ให้ประชาชนได้อยู่อาศัย เรียก ชุมชนวัชรปราณี (ท่าแร้ง) ถนนรามอินทรา ซอยวัชรพล (ห้าแยกวัชรพล) แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน ทางวัดได้จัดสรรให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยเมื่อประมาณ พ.ศ. 2520? และได้รับการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นชุมชนโดยสำนักพัฒนาชุมชน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ปัจจุบันมีผู้อยู่อาศัยประมาณ 225+ ครอบครัว 804+ คน

8. ที่ธรณีสงฆ์แปลงเรียบถนนเกษตร-นวมินทร์ แปลงถนนเกษตรศาสตร์-นวมินทร์ ประมาณ 65 ไร่ จำนวน 2 โฉนด คือ 1125 เนื้อที่ทั้งหมด 43 ไร่ 1 งาน 72 วา (ถูกเวนจำนวน 4 ไร่ 1 งาน 21.7 วา คงเหลือ 39 ไร่ 50.3 วา) และโฉนดเลขที่ 1126 จำนวน 27 ไร่ 1 งาน 96 วา (ถูกเวนคืน 2 ไร่ 6.6 วา คงเหลือ 25 ไร่ 1 งาน 89.4 วา) ปัจจุบันให้เอกชนเช่า [บุญถาวร สาขาเกษตรนวมินทร์]